ไวท์ ฮาร์ท เลน: ป้อมฟุตบอลประวัติศาสตร์

ไวท์ ฮาร์ท เลน ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับผู้ที่ชื่นชอบฟุตบอล ได้จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์กีฬา สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ มานานกว่าศตวรรษ สนามกีฬาอันเป็นสัญลักษณ์แห่งนี้ได้พบเห็นชัยชนะ ความโศกเศร้า และช่วงเวลาแห่งความมหัศจรรย์อย่างแท้จริง เริ่มต้นการเดินทางผ่านเรื่องราวในอดีตและปัจจุบันที่น่าหลงใหลของไวท์ ฮาร์ท เลน

จุดเริ่มต้นในตำนาน

ไวท์ ฮาร์ท เลน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2442 เป็นคำตอบของท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ ต่อความทะเยอทะยานที่เพิ่มขึ้นของสโมสร สนามกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขต Haringey ของลอนดอน เดิมทีมีความจุไม่มาก อย่างไรก็ตาม ด้วยการปรับปรุงและขยายอย่างต่อเนื่อง สนามแห่งนี้ได้พัฒนาเป็นสนามฟุตบอลที่น่าเกรงขามที่สุดแห่งหนึ่งของอังกฤษ

ค่ำคืนอันรุ่งโรจน์และความสำเร็จที่น่าจดจำ

ไวท์ ฮาร์ท เลนได้เห็นส่วนแบ่งของความรุ่งโรจน์ของฟุตบอล ในฤดูกาล 1960-61 ท็อตแนมคว้าดับเบิ้ลแชมป์ลีกและเอฟเอคัพได้สำเร็จ ชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์ของสโมสรในยูโรเปี้ยนคัพวินเนอร์สคัพในปี 1963 และชัยชนะในประเทศอื่น ๆ อีกมากมายได้ทิ้งร่องรอยที่ลบไม่ออกไว้ในประวัติศาสตร์ของสนามกีฬา

บรรยากาศ

บรรยากาศที่เข้มข้นและเสียวสันหลังวาบที่ไวท์ ฮาร์ท เลนเป็นข้อพิสูจน์ถึงการสนับสนุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงของฐานแฟนตัวยงของท็อตแนม ผู้ซื่อสัตย์ของสเปอร์สซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความภักดีที่ไม่เปลี่ยนแปลง สร้างบรรยากาศที่น่าตื่นตาที่ข่มขู่คู่ต่อสู้และกระตุ้นทีมของพวกเขาให้สูงขึ้น

กล่าวลาไวท์ ฮาร์ท เลน

ในปี 2560 ไวท์ ฮาร์ท เลน กล่าวคำอำลาต่อสาวกผู้ซื่อสัตย์ สนามกีฬาได้รับการปรับปรุงโครงการเพื่อเพิ่มความจุและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทันสมัย สโมสรได้ย้ายไปที่สนามเวมบลีย์เป็นการชั่วคราว และความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นสำหรับการเปิดตัวสถานที่อันล้ำสมัยแห่งใหม่

การเติบโตของท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ สเตเดี้ยม

บ้านหลังใหม่ของสโมสรแห่งนี้มีชื่อว่า ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ สเตเดี้ยม โผล่ออกมาจากพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ของไวท์ ฮาร์ท เลน เปิดให้บริการในปี 2019 โดยยังคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณของรุ่นก่อน ในขณะที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและความจุที่เพิ่มขึ้น ไก่ตัวผู้สีทองอันเป็นสัญลักษณ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสโมสรได้รับการบูรณะอย่างระมัดระวังและตั้งตระหง่านอยู่บนอัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้ มองเห็นสนามได้

คืนสู่เหย้าแห่งความรุ่งโรจน์

เมื่อสโมสรกลับไปยังป้อมปราการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ สโมสรได้เปิดยุคใหม่แห่งความทะเยอทะยานและความทะเยอทะยาน สนามกีฬาแห่งนี้ใช้จัดการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก พร้อมชมการกลับมาที่ไม่มีวันลืมและช่วงเวลาที่น่าจดจำ มันกลายเป็นเวทีให้เหล่าดาราได้ฉายแสง ขณะที่ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์โชว์ศักยภาพของพวกเขาในการเผชิญหน้ากับทีมชั้นนำของยุโรป

วิญญาณนิรันดร์

แม้ว่าไวท์ ฮาร์ท เลนจะยังคงอยู่ในความทรงจำ แต่จิตวิญญาณของมันยังคงฝังแน่นอยู่ภายในสนามท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ สเตเดี้ยม สนามใหม่เป็นเครื่องยืนยันถึงมรดกของสโมสรและความหลงใหลของแฟนๆ โดยคงไว้ซึ่งมนต์ขลังของสนามดั้งเดิมในขณะที่เปิดรับอนาคต

สรุป

ไวท์ ฮาร์ท เลน จะถูกจดจำไปตลอดกาลว่าเป็นสถานที่เกิดและเติมเต็มความฝันของฟุตบอล มรดกตกทอดมาจากท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ สเตเดี้ยม สิ่งมหัศจรรย์สมัยใหม่ที่อบอวลไปด้วยประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องราวและจิตวิญญาณอันแน่วแน่ของรุ่นก่อน ในขณะที่ฟุตบอลพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ไวท์ฮาร์ทเลนมีความสำคัญในฐานะป้อมปราการฟุตบอลอันเป็นที่รักไม่มีวันเสื่อมคลาย ยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งแรงบันดาลใจสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป

สตาดีโอ โอลิมปีโก รังเหย้าของสองนักรบแห่งโรมัน

เราอาจจะเคยได้เห็นการใช้สนามเหย้าร่วมกัน ของสองทีมฟุตบอลที่อยู่ร่วมเมืองเดียวกันมาแล้วหลายแห่ง ทั้งทีมใหญ่และทีมเล็ก ซึ่งบรรยากาศจะเต็มไปด้วยความตึงเครียดเสมอยามที่ต้องเตะกันเอง หรือที่เราเรียกกันว่า “ดาร์บี้ แมทช์” ยกตัวอย่างก็เช่นสองทีมใหญ่แห่งเมืองมิลานลงเตะกันเองในซาน ซิโร (จูเซ็ปเป้ เมอัซซ่า) ก็เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งศักดิ์ศรีที่ไม่มีใครยอมใคร แต่ถ้าจะเทียบสนามสตาดีโอ โอลิมปีโก แห่งกรุงโรมแล้วละก็ ต้องบอกเลยว่าคู่แห่งศักดิ์ศรีเมืองมิลานต้องชิดซ้ายไปอย่างแน่นอน

นั่นก็เพราะว่าสนามโอลิมปิกแห่งโรมนั้น ถูกใช้เป็นรังเหย้าร่วมกันของสองทีมใหญ่จากเมืองหลวงอย่างโรม่า และลาซิโอ ซึ่งต้องบอกว่าเป็นสองทีมที่แฟนบอลต่างมีเลือดนักรบโรมันอยู่อย่างเต็มเปี่ยม จึงไม่มีใครยอมใครทั้งนั้นและแฟนบอลของทั้งสองทีมนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มแฟนบอลป่าเถื่อนหรือ “ฮูลิแกน” ที่ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศเลยทีเดียว ดังนั้นยามใดที่มีศึกผ่าเมืองของกรุงโรมเกิดขึ้นที่นี่ เหล่าแฟนบอลเจ้าปัญหาเหล่านี้มักจะสร้างความปวดหัวให้กับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเสมอ ไม่ว่าจะภายในสนามสตาดีโอ โอลิมปีโกหรือแม้แต่ตามท้องถนนก็ตาม เหล่านักรบโรมันของทั้งสองทีมก็พร้อมที่จะยั่วยุซึ่งกันและกัน รวมไปถึงพร้อมปะทะกันได้ตลอดเวลา และที่สำคัญทั้งสองทีมต่างก็เป็นทีมที่เล่นอยู่ในลีกสูงสุดของประเทศอีกด้วย ทำให้อย่างน้อย ๆ จะการันตีว่ามีแมทช์ให้ปะทะกันแน่ ๆ สองเกมด้วยกัน

แต่สนามแห่งนี้ก็ใช่ว่าจะมีแต่ปัญหาจากกลุ่มแฟนบอลหัวรุนแรงเท่านั้น สตาดีโอ โอลิมปีโกแห่งนี้ยังเป็นหนึ่งในสังเวียนแข้งที่สำคัญของประเทศอิตาลีอีกด้วย ด้วยความที่เป็นสนามกีฬาที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่แห่งหนึ่ง (เปิดใช้มาตั้งแต่ปี 1937) แถมยังตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอิตาลี ทำให้สนามแห่งนี้เปรียบเสมือนกับโคลอสเซียมของโรมในอดีต สนามแห่งนี้จึงถูกใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศบอลถ้วยของอิตาลี และได้รับเกียรติให้จัดการแข่งขันรายการสำคัญ ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นโอลิมปิกเกมส์ นัดชิงยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีก นัดชิงฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รวมไปถึงนัดชิงฟุตบอลโลกก็ล้วนแล้วแต่เคยมาใช้บริการสนามแห่งนี้มาแล้วทั้งสิ้น

สตาดีโอ โอลิมปีโก เป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งกรุงโรม เป็นเหมือนจุดรวมของอาณาจักรโรมันในอดีตกับกรุงโรมปัจจุบัน เป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งเลือดนักสู้และการนิยมการแข่งขันต่าง ๆ ของชาวโรมัน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งในสถานที่ที่น่าไปเยือนอย่างมากหากมีโอกาสได้ไปอิตาลี ขอเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือ พยายามอยู่ห่างจากสนามแห่งนี้เข้าไว้ ในวันที่มีการต่อสู้กันของสองสายเลือดนักรบโรมัน อย่างโรม่าและลาซิโอเพื่อความปลอดภัยของคนนอกอย่างพวกเรา แค่นั้นก็พอ

สนามซานติอาโก้ เบอร์นาเบว บัลลังก์แห่งราชันชุดขาว

ถ้าจะพูดถึงสนามฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ทั้งในด้านขนาดและความสำเร็จบนโลกแห่งฟุตบอลแล้วละก็ ชื่อหนึ่งที่จะติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกฟุตบอลจะต้องเป็นชื่อสนาม “ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว” สนามเหย้าของทีมราชันชุดขาว เรอัล มาดริด ในประเทศสเปนอย่างแน่นอน เพราะตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานบนโลกลูกหนังของสนามแห่งนี้ มีเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่มากมายบนโลกฟุตบอลเกิดขึ้นจบลงและถูกจารึก ไว้บนสังเวียนลูกหนังที่ได้ชื่อว่า เป็นบัลลังก์ของราชันชุดขาวแห่งนี้

แรกเริ่มเดิมทีนั้นมาดริดมีสนามเหย้าที่ชื่อว่า คัมโป เด โอดอนเนลในช่วงก่อตั้งสโมสร และได้ทำการย้ายสนามเกิดขึ้นเพื่อรองรับจำนวนแฟนบอลที่มากขึ้นในช่วงปี 1923 มาเป็นสนามที่มีชื่อว่า “ชามาร์ติน” ซึ่งในเวลาต่อมาสนามแห่งนี้ก็กลายเป็นสนามที่เล็กเกินไปอีกครั้ง ตามจำนวนแฟนบอลที่มากขึ้นทุกวันของทีม ทำให้ประธานสโมสรในขณะนั้นเกิดแนวคิดที่จะสร้างสนามขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับฐานแฟนบอลที่จะมากขึ้นไปอีกในอนาคตด้วย จึงได้ทำการสร้างสนามแห่งนี้ขึ้นมาในปี 1943 แต่ก็ยังคงใช้ชื่อสนามตามชื่อเดิมอยู่นั่นคือ “ชามาร์ติน” จนกระทั้งเมื่อปี 1955 จึงได้เปลี่ยนชื่อสนามแห่งนี้ตามชื่อของประธานสโมสรที่ได้ทำการสร้างมันขึ้นมาคือ ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว เยสเต้ และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

เบอร์นาเบวนั้นปัจจุบันมีความจุสูงถึง 81,044 ที่นั่ง ซึ่งถือเป็นความจุที่ใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งในวงการฟุตบอล นอกจากจะเป็นสนามที่มีขนาดใหญ่แล้ว ภายในยังมีทั้งโรงแรมห้อง พักนักกีฬา พิพิธภัณฑ์และหอเกียรติยศ ซึ่งบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ฟุตบอลของทีมไว้เปิดให้แฟนบอลเข้าไปชมอีกด้วย แถมยังเป็นสนามที่ตั้งอยู่ในย่านเศรษฐกิจใจกลางมหานครมาดริดเมืองหลวงของสเปน ทำให้มีผู้คนทั้งแฟนบอลและนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก สนใจเข้าเยี่ยมชมสนามแห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย ที่สำคัญเบอร์นาเบวยังสถานีรถไฟฟ้าเป็นของตัวเองไว้รองรับผู้คนที่จะเดินทางมาอีกด้วย

ในด้านความสำเร็จและประวัติศาสตร์ฟุตบอลนั้น ซานติอาโก้ เบอร์นาเบวเคยถูกเลือกให้ราคาต่อรองจาก Fun88 เป็นเต็งสังเวียนนัดชิงยูฟ่า แชมเปี้ยนลีกมาแล้วถึง 3 สมัย และยังเคยเป็นสนามที่ใช้จัดนัดชิงฟุตบอลนัดชิงยูโร 1964 ซึ่งทีมชาติสเปนสามารถคว้าแชมป์ในบ้านตัวเองที่สนามแห่งนี้ได้สำเร็จอีกด้วย และยังมีโอกาสได้จัดฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศอีกหนึ่งครั้งในปี 1982 แต่ครั้งนี้เป็นการบันทึกความทรงจำที่ยิ่งใหญ่ของอิตาลีแทน เพราะเจ้าภาพอย่างสเปนชิงตกรอบรองชนะเลิศไปก่อนอย่างน่าเสียดาย นอกจากจะเคยผ่านช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ทั้งในส่วนของทีมชาติและทีมสโมสรแล้ว ความสำเร็จของทีมเรอัล มาดริดและเหล่าผู้เล่นระดับโลกหลายคน ต่างก็ก้าวเข้ามาเพื่อตามหาความฝันและความสำเร็จในเส้นทางฟุตบอล ในสนามแห่งนี้กันแบบไม่เคยขาดสาย ทำให้ทุกยุคทุกสมัยที่สนามแห่งนี้จะมีผู้เล่นที่ดีที่สุดของโลกอยู่ในทีมเสมอ และผลที่ตามมาก็คือความสำเร็จที่พวกเขากวาดมาสู่หอเกียรติยศในสนามแห่งนี้มากมายตามไปด้วย ทั้งแชมป์ลีก 34 ใบ แชมเปี้ยนลีก 13 ใบ โคปา เดอ เรย์ 19 ใบ ยังไม่นับรายการย่อยออื่น ๆ เพียงเท่านี้ก็หาทีมที่จะไล่ตามพวกเขาได้ยาก สมกับฉายาที่ถูกเรียกว่า “ราชัน” อย่างแท้จริง

ปัจจุบันซานติอาโก้ เบอร์นาเบว ไม่ใช่เป็นเพียงสนามฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น สถานที่แห่งนี้ยังกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของกรุงมาดริดอีกด้วย นั่นเป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีว่าสนามแห่งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งในแง่ของรายได้และความสำเร็จด้านฟุตบอล และทางสโมสรกำลังวางแผนที่จะปรับปรุงสนามครั้งใหญ่อีกครั้ง ดังนั้นรับองได้เลยว่า ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว จะยังคงเป็นสถานที่บันทึกเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ของโลกฟุตบอลไปอีกนานเท่านาน

“เวมบลีย์ สเตเดียม” สนามแห่งจิตวิญญาณของชาวอังกฤษ

ประเทศอังกฤษได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของกีฬาฟุตบอล แถมฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศอย่างพรีเมียร์ลีก ยังถือเป็นลีกที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของโลกอีกด้วย ชาวอังกฤษล้วนผูกพันกับโลกลูกหนังมาตั้งแต่เด็ก ทั้งฟุตบอลระดับสโมสรและทีมชาติ โดยสนามฟุตบอลที่ชาวอังกฤษทั้งประเทศผูกพันมากที่สุดคงหนีไม่พ้น “เวมบลีย์ สเตเดียม” ซึ่งถูกใช้เป็นสนามเหย้าของทีมชาติอังกฤษนั้นเอง

สนามเวมบลีย์ ตั้งอยู่ในเวมบลีย์ปาร์ก กรุงลอนดอน เริ่มก่อสร้างในปี 1922 โดยแล้วเสร็จและเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 เมษายน 1923 ซึ่งเป็นเกมการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอ คัพ นัดชิงชนะเลิศ ระหว่างโบลตัน วันเดอเรอร์ส กับเวสต์แฮม ยูไนเต็ด และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสนามแห่งนี้ก็ถูกใช้เป็นสนามแข่งขันนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอ คัพ ซึ่งเป็นฟุตบอลถ้วยที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน จนมีข้อความว่า “Road to Wembley” เป็นสโลแกนประจำการแข่งขัน นอกจากนั้นเวมบลีย์ยังถูกใช้เป็นสนามเหย้าของทีมชาติอังกฤษ และฟุตบอลลีก คัพ นัดชิงชนะเลิศ รวมไปถึงถูกเลือกให้จัดการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฟุตบอลยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ ลีก (ยูโรเปี้ยน คัพ) นัดชิงชนะเลิศ, ฟุตบอลโลก 1966 นัดชิงชนะเลิศ, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติทวีปยุโรป “ยูโร 96” รวมไปถึงฟุตบอลโอลิมปิกเกมส์ เมื่อปี 1948 และ 2012 ที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพด้วย

เวมบลีย์ได้รับการรีโนเวทในปี 1963 เพื่อใช้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1966 ซึ่งครั้งนั้นทีมชาติอังกฤษสามารถเอาชนะทีมชาติเยอรมันตะวันตกไปได้ในช่วงต่อเวลา ครองแชมป์โลกครั้งแรกและครั้งเดียวมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั้งในปี 2000 สนามเวมบลีย์ถูกปิดใช้งานเพื่อก่อสร้างสนามใหม่ด้วยทุนการก่อสร้างกว่า 790 ล้านปอนด์ ก่อนจะกลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2007 โดยสนามใหม่นี้มีความจุผู้ชมถึง 90,000 ที่นั่ง ใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรป นอกจากนั้นยังได้เปลี่ยนสัญลักษณ์ประจำสนามจากหอคอยคู่ มาเป็นเสาโค้งรูปครึ่งวงกลมแทน และมีการตั้งอนุสาวรีย์บ็อบบี้ มัวร์ กัปตันทีมชาติอังกฤษชุดแชมป์โลก ไว้ที่หน้าทางเข้าสนามอีกด้วย

นอกจากจะถูกใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลแล้ว เวมบลีย์ยังถูกใช้จัดการแข่งขันกีฬาประเภทอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นรักบี้ ลีก, รักบี้ ยูเนี่ยน, อเมริกันฟุตบอล และมวยสากล รวมไปถึงการจัดคอนเสิร์ตระดับโลก ซึ่งศิลปินระดับตำนานอย่าง Michael Jackson, Queen, Paul McCartney, Elton John, U2, Madonna, Oasis, Bon Jovi และ Aerosmith ล้วนผ่านเวทีเวมบลีย์มาแล้วทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ BTS บอยแบนด์ชื่อดังจากประเทศเกาหลี ก็เคยขึ้นแสดงที่นี่เมื่อปี 2019 นับเป็นศิลปินเกาหลีกลุ่มแรกที่ได้จัดการแสดงกลางกรุงลอนดอน

สนามเวมบลีย์เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมสนามได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น. เว้นวันหยุดช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ โดยผู้เข้าชมจะได้สำรวจทุกซอกทุกมุมของสนาม เข้าชมห้องแต่งตัวนักเตะ, ห้องแถลงข่าว, อุโมงค์ปล่อยตัวนักเตะ และที่นั่งข้างสนาม รวมไปถึงประวัติศาสตร์ทั้งหมดเกี่ยวกับสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอังกฤษ

“คัมป์ นู” สนามฟุตบอลสุดยิ่งใหญ่ของยุโรป

หากมีการจัดอันดับสนามฟุตบอลที่แฟนบอลอยากไปเยือนสักครั้ง ต้องมีชื่อของ “คัมป์ นู” ติดโผอยู่ในลำดับต้น ๆ อย่างแน่นอน เนื่องจากนี่คือสนามเหย้าของบาร์เซโลน่า สโมสรฟุตบอลระดับแนวหน้าของโลกจากประเทศสเปน แถมสนามแห่งนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นสนามฟุตบอลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปอีกด้วย

คัมป์ นู (Camp Nou) ตั้งอยู่ในเมืองบาร์เซโลน่า แคว้นคาตาลัน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน สนามแห่งนี้ได้รับฉายาว่า “อ่างชามยักษ์” จากการเป็นสนามฟุตบอลที่มีความจุผู้ชมถึง 99,354 ที่นั่ง ซึ่งหากแข่งขันในศึกยูฟ่าแชมเปี้ยนลีกจะถูกลดลงเหลือ 96,636 ที่นั่ง ตามกฎมาตรการรักษาความปลอดภัยของยูฟ่า แม้จะมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป แต่เมื่อมองจากภายนอกกลับดูไม่ใหญ่มากนัก นั้นเป็นเพราะพื้นที่ส่วนล่างของสนามอยู่ลึกลงไปใต้ดิน โดยก่อนหน้านี้สโมสรตั้งใจใช้ชื่อสนามอย่างเป็นทางการว่า “เอสตาดิ เดล เอฟซี บาร์เซโลน่า” แต่เนื่องจากแฟนบอลและผู้สื่อข่าวนิยมเรียกสนามแห่งนี้ว่า คัมป์ นู มากกว่า ชื่อนี้จึงถูกนำมาใช้เป็นชื่อสนามอย่างเป็นทางการในที่สุด โดยคำว่า คัมป์ นู เป็นภาษาคาตาลัน แปลว่า “สนามแห่งใหม่” เนื่องจากเป็นสนามที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทดแทนสนามเดิมของสโมสรบาร์เซโลน่า

ในยุคก่อตั้งสโมสรบาร์เซโลน่าใช้สนามคัมป์ เด ลา อินดุสเตรีย (Camp de la Indústria) เป็นสนามประจำทีม ซึ่งเป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ที่หลายชนิดกีฬาใช้พื้นที่ร่วมกัน มีความจุประมาณ 10,000 ที่นั่ง ก่อนจะสร้างสนามของตัวเองในชื่อ คัมป์ เด เลส คอร์ทส (Camp de Les Corts) ที่มีความจุ 20,000 ที่นั่ง ตามจำนวนแฟนบอลที่ติดตามเชียร์ในสนามมากขึ้น หลังจากสิ้นสุดสงครามกลางเมือง แฟนบอลสเปนแต่ทีมล้วนมีฐานแฟนคลับเพิ่มขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ทีมประจำแคว้นคาตาลัน ทำให้บาร์เซโลน่าตัดสินใจปรับปรุงสนามของตัวเองจนมีความจุ 60,000 ที่นั่ง จนกระทั้งในปี 1954 สโมสรต้องการขยายสนามเพื่อรองรับแฟนบอล แต่ไม่สามารถทำได้เพราะไม่มีพื้นที่เพียงพอในการขยับขยาย จึงเป็นที่มาของการสร้างสนามคัมป์ นู ในที่สุด

สนามคัมป์ นู เริ่มก่อสร้างในปี 1954 ด้วยงบประมาณ 288 ล้านเปเซตา มีผู้ว่าเฟลีเป อาเซโด โกลังกา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ก้อนแรก ประกอบพิธีโดยเกรโกเรียว โมเดรโก อาร์ชบิชอปแห่งบาร์เซโลนา และเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 1957 ก่อนจะทำการออกแบบสนามใหม่ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของยูฟ่าในปี 1980 โดยครั้งนั้นสโมสรเปิดโอกาสให้แฟนได้มีส่วนร่วมกับการปรับปรุงสนามด้วยการเปิดบริจาคเงินจากแฟนบอลแลกกับมีชื่อสลักบนหิน ซึ่งนอกจากจะได้รับเงินบริจาคจำนวนมาก ยังทำให้แฟนบอลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสนามอย่างเป็นรูปธรรม

คัมป์ นู ไม่เพียงถูกใช้เป็นสนามเหย้าของบาร์เซโลน่าเท่านั้น สนามแห่งนี้ยังถูกรับเลือกให้จัดการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฟุตบอลโลก 1982 รอบแบ่งกลุ่ม และรอบรองชนะเลิศ, คัพ วินเนอร์ คัพ นัดชิงชนะเลิศ ปี 1972, ยูโรเปี้ยน คัพ นัดชิงชนะเลิศ ปี 1989 รวมไปถึงยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ ปี 1999

แม้จะมีขนาดใหญ่โตมโหฬารอยู่แล้ว แต่คัมป์ นู ก็ยังมีแผนขยายความจุของสนามเพิ่มขึ้นเป็น 105,000 ที่นั่ง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2023 นี้อีกด้วย ถือเป็นอีกก้าวของสนามแห่งนี้ในการเข้าใกล้สนามที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Rungrado May Day Stadium ของประเทศเกาหลีเหนือ ที่สามารถจุผู้ชมได้ถึง 150,000 คน

ศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย

คงไม่มีสนามกีฬาภายในประเทศแห่งใดจะผูกพันกับคนไทยมากไปกว่า “สนามศุภชลาศัย” ซึ่งมีฐานะเป็นสนามกีฬาแห่งชาติของประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 80 ปี โดยสนามแห่งนี้นับเป็นสนามกีฬามาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

สนามศุภชลาศัย ตั้งอยู่กลางทุ่งปทุมวัน ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของวังวินเซอร์ วังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2480 และเปิดใช้งานครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2481 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขัน แต่เดิมใช้ชื่อว่า “สนามกรีฑาสถาน” ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น “สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ” เมื่อปี พ.ศ. 2484 เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก และเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างสนามกีฬาแห่งนี้

สนามศุภชลาศัย เป็นสนามกีฬากลางแจ้งที่มีอัฒจันทร์ล้อมรอบ ประกอบด้วยสนามฟุตบอลพื้นหญ้าขนาดมาตรฐาน พร้อมลู่วิ่งรอบนอก ปัจจุบันมีความจุผู้ชมจำนวน 35,000 ที่นั่ง โดยครั้งหนึ่งสนามแห่งนี้เคยถูกใช้เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทยในการต้อนรับการมาเยือนของทีมฟุตบอลระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทีมชาติโรมาเนีย, ทีมชาติฟินแลนด์ หรือแม้แต่ทีมสโมสรชื่อดังอย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และเอ.ซี. มิลาน ก่อนที่ทีมชาติไทยจะย้ายไปใช้สนามราชมังคลากีฬาสถานเป็นสนามเหย้าแทนในเวลาต่อมา

สนามศุภชลาศัย ได้มีโอกาสจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬาซีเกมส์, การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์, การแข่งขันฟุตบอลเอเชี่ยน คัพ, การแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก รอบคัดเลือกโซนเอเชีย, การแข่งขันฟุตบอลในกีฬามหาวิทยาลัยโลก และการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ นอกจากนั้นยังใช้เป็นสังเวียนแข้งของฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์, ฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี รวมไปถึงนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลไทยเอฟเอคัพ และไทยลีกคัพอีกด้วย

นอกจากจะใช้จัดการแข่งขันกีฬาแล้ว สนามศุภชลาศัยยังเคยถูกใช้จัดกิจกรรมอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตไมเคิล แจ็คสัน แดนเจอรัส เวิลด์ ทัวร์ ของราชาเพลงป๊อปผู้ล่วงลับ เมื่อปี พ.ศ. 2536, พิธีทบทวนคำปฏิญาณตนและสวนสนามของลูกเสือและเนตรนารี เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี, งานฉลองปีใหม่ โดยบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) รวมไปถึงใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีบูชามหามิสซาถึง 2 ครั้ง เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2527 และเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2562

แม้ในปัจจุบันบทบาทของสนามศุภชลาศัยจะถูกส่งต่อไปให้สนามราชมังคลากีฬาสถานรับหน้าที่แทน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการแข่งขันกีฬาสำคัญระดับชาติ หรือการจัดคอนเสิร์ตทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศ แต่ความทรงจำทางประวัติศาสตร์มากมายก็จะยังคงสถิตคู่สนามแห่งนี้ตลอดไป

ค่าตั๋วเข้าชมเกมของ 20 สนามในพรีเมียร์ลีก

เชื่อเหลือเกินว่าแฟนบอลหลายคนในเมืองไทยในตอนนี้กำลังวางแผนในใจว่าจะเก็บเงินบินลัดฟ้าไปเชียร์ทีมโปรด โดยเฉพาะแฟนบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษที่อาจกำลังรวบรวมข้อมูลการเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งวันหยุดเหมาะ ๆ ให้ลงล็อกสมความตั้งใจ เพื่อเป็นการสนับสนุนความฝันเหล่านั้นเราจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับราคาตั๋วเข้าชมเกมของแต่ละสนามในศึกพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2019 มาฝากกันไล่เรียงจากสนามที่มีค่าเข้าชมถูกที่สุดไปจนถึงสนามที่มีค่าเข้าชมแพงที่สุดตามลำดับครบทั้ง 20 สนามดังนี้

อันดับที่ 1 สนาม Bramall Lane ทีม Sheffield United ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15,813 บาท

อันดับที่ 2 สนาม Turf Moor ทีม Burnley FC ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 16,745 บาท

อันดับที่ 3 สนาม Goodison Park ทีม Everton ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 17,004 บาท

อันดับที่ 4 สนาม King Power Stadium ทีม Leicester City ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 17,695 บาท

อันดับที่ 5 สนาม Villa Park ทีม Aston Villa ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 17,850 บาท

อันดับที่ 6 สนาม Molineux Stadium ทีม Wolverhampton Wanderers ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 19,352 บาท

อันดับที่ 7 สนาม Carrow Road ทีม Norwich City ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20,716 บาท

อันดับที่ 8 สนาม Vicarage Road ทีม Watford ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 21,027 บาท

อันดับที่ 9 สนาม St. James’ Park ทีม Newcastle United ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 21,200 บาท

อันดับที่ 10 สนาม St Mary’s Stadium ทีม Southampton ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 21,648 บาท

อันดับที่ 11 สนาม Etihad Stadium ทีม Manchester City ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 22,011 บาท

อันดับที่ 12 สนาม London Stadium ทีม West Ham United ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 22,356 บาท

อันดับที่ 13 สนาม Vitality Stadium ทีม AFC Bournemouth ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 22,615 บาท

อันดับที่ 14 สนาม AMEX Stadium ทีม Brighton & Hove Albion ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 23,824 บาท

อันดับที่ 15 สนาม Selhurst Park ทีม Crystal Palace ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 24,342 บาท

อันดับที่ 16 สนาม Old Trafford ทีม Manchester United ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25,585 บาท

อันดับที่ 17 สนาม Anfield ทีม Liverpool ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 26,068 บาท

อันดับที่ 18 สนาม Stamford Bridge ทีม Chelsea ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 31,851 บาท

อันดับที่ 19 สนาม Emirates Stadium ทีม Arsenal ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 45,904 บาท

อันดับที่ 20 สนาม Tottenham Hotspur Stadium ทีม Tottenham Hotspur ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 48,166 บาท

ราคาตั๋วเข้าชมนี้คือราคาเฉลี่ยจากการนำเอาราคาค่าตั๋วเข้าชมแบบแพงที่สุดและราคาถูกสุดมาคำนวนหาราคากลางดังนั้นในบางเกมราคาตั๋วอาจจะถูกลงกว่านี้หรือแพงกว่านี้ก็เป็นไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเกมนั้น ๆ ผู้มาเยือนเป็นทีมขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ด้วย ซึ่งราคาเฉลี่ยดังกล่าวยังไม่ได้ถูกคำนวณส่วนลดและการเหมาซื้อที่จะทำให้ราคาถูกลงไปอีก สำหรับใครที่วางแผนล่วงหน้าไว้แล้วและมีปัจจัยเพียงพอแนะนำว่าควรรีบจองตั๋วหลังจากพรีเมียร์ลีกประกาศตารางการแข่งขันเลยจะเป็นการดีที่สุด เพราะหากเริ่มเปิดฤดูกาลอาจจะมีการปรับขึ้นราคามากกว่านี้โดยเฉพาะในเกมที่ทีมใหญ่ต้องพบกันเอง

5 สนามฟุตบอลสุดแหวกแนวที่ควรไปเช็คอินสักครั้งในชีวิต

ถ้าเราจะเชิญชวนให้ไปเยือนสนามฟุตบอลชื่อดังอย่างคัมป์ นู, ซานติอาโก้ เบร์นาเบว, โอล แทรฟฟอร์ด, แอนฟิลด์รวมทั้งสนามฟุตบอลของสโมสรชั้นนำระดับโลกต่าง ๆ หลายคนคงมองบนพลางรู้สึกน่าเบื่อ จำเจ ระดับสิบเพราะสนามชื่อกระเดื่องเหล่านี้ถูกตีแผ่โดยสื่อต่าง ๆ ทุกแง่มุมแล้ว แน่นอนว่าเราจะไม่ทำแบบนั้นเพราะสนามฟุตบอลที่ควรไปสักครั้งในชีวิตมันควรจะมีความพิเศษเฉพาะตัวแบบสนามฟุตบอลเหล่านี้ต่างหาก

The Float สนามฟุตบอลเดอะ โฟลทตั้งอยู่บน Marina Bay ไม่ไกล้ไม่ไกลจากเมืองไทยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างดินแดนลอดช่องประเทศสิงคโปร์นี่เอง สนามฟุตบอลแห่งนี้มีความเจ๋งตรงไอเดียที่หน่วยงานเอกชนตั้งใจสร้างให้เป็นสนามฟุตบอลลอยน้ำแถมยังทำสถิติเป็นสนามฟุตบอลลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย การมีเดอะ โฟลทช่วยส่งเสริมให้การค้าในแถบ Marina Bay คึกคักยิ่งขึ้นมีร้านค้ามากมายผุดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวดังนั้นไม่ว่าจะไปช้อป ชิม ชิลหรือเช็คอิน ก็ฟินทั้งนั้น

Henningsvær Stadion สนามฟุตบอลสุดอินดี้แห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในหมู่บ้านชาวประมงประเทศ Norway สนามฟุตบอลแห่งนี้ไม่มีอะไรเป็นมาตรฐานทั้งขนาดสนาม แสตนเชียร์ แถมไม่เคยจัดแข่งขันฟุตบอลแบบเป็นทางการเลย ทว่าบนที่ตั้งอันโอบล้อมด้วยวิวทะเลกับขุนเขาพูดตรง ๆ ว่าถึงจะมีฟุตบอลแข่งอยู่ตรงหน้าหรือนักเตะระดับโลกวิ่งอยู่ในสนามก็คงน่าสนใจน้อยกว่าการดื่มด่ำไปกับบรรยากาศโดยรอบเลยจริง ๆ

Eidi Stadium สนามฟุตบอลกลางแหล่งน้ำสองสายตั้งอยู่ในประเทศ Faroe Islands ประเทศเล็ก ๆ ที่มีภูมิประเทศสวยงามในทวีปยุโรป สนามแห่งนี้คั่นอยู่ตรงกลางระหว่างทะเลสาบ ซอร์แว็กวัตน์กับมหาสมุทรแอตเเลนติกพอดิบพอดี การมีสนามฟุตบอล ณ.ที่แห่งนั้นจึงเกิดเป็นทิวทัศน์ที่น่าเหลือเชื่อจนผู้คนทั่วโลกต่างหลั่งไหลไปเที่ยวชมให้เห็นกับตาแม้จะไม่มีฟุตบอลแข่งขันก็ตาม

Hasteinsvollur สนามฟุตบอลท่ามกลางผืนหญ้าสีเขียวอันกว้างใหญ่ไพศาลตั้งอยู่ในประเทศ Iceland สนามฟุตบอลแห่งนี้นอกจากจะมีผืนหญ้าเขียวขจีสุดลูกหูลูกตาแล้วยังมีภูหินแหลมโผล่ขึ้นมาข้าง ๆ สนามให้เป็นความน่าอัศจรรย์ใจแก่ผู้ไปเยือนอีกด้วย

Ottmar Hitzfeld Stadium สนามฟุตบอลที่ตั้งตามชื่อเทรนเนอร์ระดับตำนานของทีมเสือใต้ บาเยิร์น มิวนิคแห่งนี้เป็นสนามฟุตบอลที่ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของยุโรป พิกัดของสนามอยู่บนขุนเขาแห่งหนึ่งในเมือง Zermatt ประเทศ Switzerland ด้านหนึ่งของสนามเป็นผาลาดชันมองเห็นวิวภูเขาเขียว ป่าสน และภูเขาหิมะราวกับอยู่ในดินแดนเทพนิยายก็ไม่ปาน

สนามฟุตบอลทั้งห้าแห่งนี้เราไม่อยากให้คุณพลาดไปเยี่ยมชมสักครั้งในชีวิต เพราะการไม่มีเกมอย่างเป็นทางการไปแข่งขันทำให้สนามเหล่านี้อาจไม่ยืนยงนัก อาจจะหายไปตามกาลเวลา ถูกภัยธรรมชาติทำลายหรือพื้นที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ดังนั้นเมื่อมีโอกาสอย่าลืมแวะไปเช็คอินให้ฟินในอารมณ์ถึงแม้คุณจะไม่ใช่แฟนฟุตบอลเลยก็ตาม